ประวัติความเป็นมา 12 เม.ย. 2563
ประวัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ (อบจ.อำนาจเจริญ)
องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือเรียกชื่อย่อว่า “อบจ.” ซึ่งในปัจจุบัน อบจ. ถือเป็นรูปแบบการ ปกครองท้องถิ่นไทยรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเป็นมาและมีวิวัฒนาการการปรับปรุงแก้ไขตลอดมาตามลำดับ ความเป็นมา
พ.ศ.2393 เมืองอำนาจเจริญ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2393 โดยท้าวอุปราช เจ้าเมืองพร แขวงสุวรรณเขตประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน โดยอพยพครอบครัวมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่บ้านค้อใหญ่ ซึ่งก็คือบ้านอำนาจ ตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ ในปัจจุบัน ต่อมาได้เป็นชื่อเป็นเมืองลืออำนาจ มีฐานะเป็นเมืองในความปกครองของนครเขมราฐ
พ.ศ. 2410 พระอมรอำนาจ (เสือ อมรสิน) ผู้ปกครองเมืองอำนาจเห็นว่าถ้าย้ายเมืองอำนาจมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี จะสะดวกในการติดต่อราชการมากจึงได้มีใบบอกกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล้าตามที่ขอ ให้เมืองอำนาจขึ้นต่อผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีตั้งแต่นั้นมา
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปบริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามแบบอย่างยุโรป เมืองอำนาจได้เปลี่ยนฐานะเป็นเมืองอำนาจเจริญอยู่ในความปกครองของมณฑลเทศาภิบาลปกครองท้องที่อุบลราชธานี ทางราชการได้แต่งตั้งท้าวพระยา ในราชวงศ์มาปกครองเมืองอำนาจเจริญติดต่อกันมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. 2455 ได้มีการแต่งตั้งนายอำเภอขึ้นปกครองอำเภออำนาจเจริญ นายอำเภอคนแรกคือ รองอำมาตย์โทหลวงเอนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฎ) ต่อมานายอำเภอท่านนี้ได้ย้ายอำเภออำนาจเจริญตามคำแนะนำของพระยาสุนทรพิพิทธ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขามณฑลอิสาน ซึ่งพิจารณาเห็นว่าที่ตั้งใหม่เป็นชุมทางสี่แยกระหว่างเมืองเขมราฐ เมืองอุบล เมืองมุก และเมืองยศ (ยโสธร) ทำให้การคมนาคมสะดวกและคาดว่าจะมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น โดยย้ายจากบ้านอำนาจ ตำบลอำนาจ ไปตั้งที่บ้านบุ่ง ตำบลบุ่ง อำเภออำนาจเจริญ จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 กำหนดให้จังหวัดเป็นหน่วยงานบริหารส่วนภูมิภาค โดยอำนาจการบริหารงานในจังหวัดอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมการจังหวัด ซึ่งมีข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นประธาน
ในปีเดียวกัน ได้มีการจัดตั้งสภาจังหวัดตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เพื่อให้มีบทบาทหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่คณะกรมการจังหวัด โดยฐานะของสภาจังหวัดยังมิได้เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการภูมิภาค
พ.ศ. 2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกกฎหมายสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะ แต่สภาจังหวัดยังมีลักษณะคงเดิม กล่าวคือทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของกรมการจังหวัด
พ.ศ. 2485 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้ผู้ว่า- ราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและความรับผิดชอบบริหารราชการในจังหวัดของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ทำให้อำนาจของกรมการจังหวัดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้นโดยผลของกฎหมายฉบับนี้ทำให้สภาจังหวัดจึงมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย
พ.ศ. 2498 ได้มีความพยายามในการจัดการปกครองท้องถิ่น โดยมีแนวความคิดที่จะปรับปรุง บทบาทของสภาจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิด “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” (อบจ.) ขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กำหนดให้ อบจ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลและแยกจากจังหวัดซึ่งเป็น ราชการส่วนภูมิภาค และโครงสร้างและองค์ประกอบของ อบจ. ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2540 สำหรับหน้าที่ของ อบจ. ในตอนนั้น กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดภายในเขตจังหวัดซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล สุขาภิบาล และหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบอื่น
พ.ศ. 2510 ทางราชการได้แยกการปกครองของอำเภออำนาจเจริญ ออกเป็น 4 ตำบล ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอหัวตะพาน และยกฐานะเป็นอำเภอหัวตะพานในปี พ.ศ. 2514
พ.ศ. 2518 ได้แยกการปกครองอำเภออำนาจเจริญอีก 5 ตำบล ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเสนางคนิคมและยกฐานะเป็นอำเภอเสนางคนิคม ปี พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2534 ได้แยกการปกครองอำเภออำนาจเจริญอีก 6 ตำบล ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอลืออำนาจ
พ.ศ. 2536 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2536 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536 โดยพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวให้มีผลบังคับหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 90 วัน คือมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2536 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2540 ได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาใช้บังคับแทน
พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 การมี พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ศ. 2540 เกิดจากแรงกดดันจากการรวมตัวของสหพันธ์ อบจ. ทั่วประเทศ และผลกระทบจาก พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ที่มีการประกาศยกฐานะสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งทำให้พื้นที่ดำเนินงานของ อบจ.ซ้อนทับกับ อบต. รวมทั้งการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้ของ อบจ. เป็นต้น
โดยใน พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กำหนดไว้ในหมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ ในจังหวัดหนึ่งให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น มาตรา ๘ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น เขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้แก่เขตจังหวัด
นอกจากนั้น พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ได้แยกข้าราชการส่วนภูมิภาค ออกจากฝ่ายบริหารของ อบจ. (ซึ่งเดิมผู้ว่าราชการจังหวัดเคยดำรงตำแหน่งนายก อบจ.) มาให้ สภาจังหวัดเป็นผู้เลือกนายก อบจ. ขึ้นทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
ด้วยผลทางกฎหมายตาม พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 จึงมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ในจังหวัดอำนาจเจริญ โดยใช้อาคารศาลากลางชั่วครัวจังหวัดอำนาจเจริญ หรือ ที่ว่าการอำเภอเมืองอำนาจเจริญหลังเดิม เป็นที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ และมีนายกคนแรกตาม พ.ร.บ.นี้ คือ นายไพศาล จันทวารา เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2540
องค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือเรียกชื่อย่อว่า “อบจ.” ซึ่งในปัจจุบัน อบจ. ถือเป็นรูปแบบการ ปกครองท้องถิ่นไทยรูปแบบหนึ่ง ที่มีความเป็นมาและมีวิวัฒนาการการปรับปรุงแก้ไขตลอดมาตามลำดับ ความเป็นมา
พ.ศ.2393 เมืองอำนาจเจริญ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2393 โดยท้าวอุปราช เจ้าเมืองพร แขวงสุวรรณเขตประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน โดยอพยพครอบครัวมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่บ้านค้อใหญ่ ซึ่งก็คือบ้านอำนาจ ตำบลอำนาจ อำเภอลืออำนาจ ในปัจจุบัน ต่อมาได้เป็นชื่อเป็นเมืองลืออำนาจ มีฐานะเป็นเมืองในความปกครองของนครเขมราฐ
พ.ศ. 2410 พระอมรอำนาจ (เสือ อมรสิน) ผู้ปกครองเมืองอำนาจเห็นว่าถ้าย้ายเมืองอำนาจมาขึ้นต่อเมืองอุบลราชธานี จะสะดวกในการติดต่อราชการมากจึงได้มีใบบอกกราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล้าตามที่ขอ ให้เมืองอำนาจขึ้นต่อผู้ปกครองเมืองอุบลราชธานีตั้งแต่นั้นมา
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการปฏิรูปบริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามแบบอย่างยุโรป เมืองอำนาจได้เปลี่ยนฐานะเป็นเมืองอำนาจเจริญอยู่ในความปกครองของมณฑลเทศาภิบาลปกครองท้องที่อุบลราชธานี ทางราชการได้แต่งตั้งท้าวพระยา ในราชวงศ์มาปกครองเมืองอำนาจเจริญติดต่อกันมาโดยตลอด จนถึงปี พ.ศ. 2455 ได้มีการแต่งตั้งนายอำเภอขึ้นปกครองอำเภออำนาจเจริญ นายอำเภอคนแรกคือ รองอำมาตย์โทหลวงเอนกอำนาจ (เป้ย สุวรรณกูฎ) ต่อมานายอำเภอท่านนี้ได้ย้ายอำเภออำนาจเจริญตามคำแนะนำของพระยาสุนทรพิพิทธ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเลขามณฑลอิสาน ซึ่งพิจารณาเห็นว่าที่ตั้งใหม่เป็นชุมทางสี่แยกระหว่างเมืองเขมราฐ เมืองอุบล เมืองมุก และเมืองยศ (ยโสธร) ทำให้การคมนาคมสะดวกและคาดว่าจะมีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น โดยย้ายจากบ้านอำนาจ ตำบลอำนาจ ไปตั้งที่บ้านบุ่ง ตำบลบุ่ง อำเภออำนาจเจริญ จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. 2476 ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบบริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476 กำหนดให้จังหวัดเป็นหน่วยงานบริหารส่วนภูมิภาค โดยอำนาจการบริหารงานในจังหวัดอยู่ภายใต้การดำเนินงานของกรมการจังหวัด ซึ่งมีข้าหลวงประจำจังหวัดเป็นประธาน
ในปีเดียวกัน ได้มีการจัดตั้งสภาจังหวัดตามพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ. 2476 เพื่อให้มีบทบาทหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำแก่คณะกรมการจังหวัด โดยฐานะของสภาจังหวัดยังมิได้เป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากราชการภูมิภาค
พ.ศ. 2481 ได้มีการตราพระราชบัญญัติสภาจังหวัด พ.ศ. 2481 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกกฎหมายสภาจังหวัดไว้โดยเฉพาะ แต่สภาจังหวัดยังมีลักษณะคงเดิม กล่าวคือทำหน้าที่เป็นสภาที่ปรึกษาของกรมการจังหวัด
พ.ศ. 2485 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้ผู้ว่า- ราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและความรับผิดชอบบริหารราชการในจังหวัดของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ทำให้อำนาจของกรมการจังหวัดเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ดังนั้นโดยผลของกฎหมายฉบับนี้ทำให้สภาจังหวัดจึงมีฐานะเป็นสภาที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย
พ.ศ. 2498 ได้มีความพยายามในการจัดการปกครองท้องถิ่น โดยมีแนวความคิดที่จะปรับปรุง บทบาทของสภาจังหวัดให้มีประสิทธิภาพและให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากยิ่งขึ้น ทำให้เกิด “องค์การบริหารส่วนจังหวัด” (อบจ.) ขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม กำหนดให้ อบจ. มีฐานะเป็นนิติบุคคลและแยกจากจังหวัดซึ่งเป็น ราชการส่วนภูมิภาค และโครงสร้างและองค์ประกอบของ อบจ. ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2540 สำหรับหน้าที่ของ อบจ. ในตอนนั้น กำหนดให้มีอำนาจหน้าที่ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดภายในเขตจังหวัดซึ่งอยู่นอกเขตเทศบาล สุขาภิบาล และหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปแบบอื่น
พ.ศ. 2510 ทางราชการได้แยกการปกครองของอำเภออำนาจเจริญ ออกเป็น 4 ตำบล ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอหัวตะพาน และยกฐานะเป็นอำเภอหัวตะพานในปี พ.ศ. 2514
พ.ศ. 2518 ได้แยกการปกครองอำเภออำนาจเจริญอีก 5 ตำบล ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเสนางคนิคมและยกฐานะเป็นอำเภอเสนางคนิคม ปี พ.ศ. 2526
พ.ศ. 2534 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2534 ได้แยกการปกครองอำเภออำนาจเจริญอีก 6 ตำบล ตั้งขึ้นเป็นกิ่งอำเภอลืออำนาจ
พ.ศ. 2536 เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2536 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดอำนาจเจริญประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 110 ตอนที่ 125 ลงวันที่ 2 กันยายน 2536 โดยพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวให้มีผลบังคับหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 90 วัน คือมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2536 เป็นต้นไป
พ.ศ. 2540 ได้มีการตรา พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 มาใช้บังคับแทน
พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 การมี พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด
พ.ศ. 2540 เกิดจากแรงกดดันจากการรวมตัวของสหพันธ์ อบจ. ทั่วประเทศ และผลกระทบจาก พ.ร.บ. สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ที่มีการประกาศยกฐานะสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งทำให้พื้นที่ดำเนินงานของ อบจ.ซ้อนทับกับ อบต. รวมทั้งการจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียม และรายได้ของ อบจ. เป็นต้น
โดยใน พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กำหนดไว้ในหมวด ๑ บททั่วไป มาตรา ๗ ในจังหวัดหนึ่งให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดประกอบด้วยสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และมีอำนาจหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามกฎหมายอื่น มาตรา ๘ ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลและเป็นราชการส่วนท้องถิ่น เขตขององค์การบริหารส่วนจังหวัดได้แก่เขตจังหวัด
นอกจากนั้น พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 ได้แยกข้าราชการส่วนภูมิภาค ออกจากฝ่ายบริหารของ อบจ. (ซึ่งเดิมผู้ว่าราชการจังหวัดเคยดำรงตำแหน่งนายก อบจ.) มาให้ สภาจังหวัดเป็นผู้เลือกนายก อบจ. ขึ้นทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหาร
ด้วยผลทางกฎหมายตาม พรบ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 จึงมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ในจังหวัดอำนาจเจริญ โดยใช้อาคารศาลากลางชั่วครัวจังหวัดอำนาจเจริญ หรือ ที่ว่าการอำเภอเมืองอำนาจเจริญหลังเดิม เป็นที่ทำการองค์การบริหารส่วนจังหวัดอำนาจเจริญ และมีนายกคนแรกตาม พ.ร.บ.นี้ คือ นายไพศาล จันทวารา เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2540